6 พฤษภาคม 2024

เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล หรือ ‘บิ๊กโจ๊ก’ รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ทำหนังสือด่วนที่สุดแจ้งไปยังฝ่ายปฏิบัติ ว่า ด้วย ตร. อยู่ระหว่างดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ประกอบกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 70 วรรค 2 คำพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าว ยังไม่มีผลตามคำบังคับจนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุทธรณ์ กรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 พ.ศ.2563 โดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ออกประกาศ หรือนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.2563 เพราะศาลฯพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศฯทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ‘บิ๊กโจ๊ก’ รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุดอีก 1 ฉบับ แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศ โดยหนังสือฉบับดังกล่าว ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติงานจราจรในการออกใบสั่ง การใช้หลักเกณฑ์จำนวนเงินค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ และใช้งานระบบ PTM (Police Ticket Management) เพื่อให้การปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกิดความชัดเจน ดังนี้

1.ในกรณีที่ได้มีการออกใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรไปแล้ว หากผู้รับใบสั่งปฏิเสธหรือมีข้อโต้แย้งใดๆ ให้พนักงานสอบสวนรับฟังข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จนปราศจากข้อสงสัย แล้วใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบในการกำหนดค่าปรับ ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด และเป็นไปตามเจตนารมย์ของกฎหมาย

2.ในกรณีที่พบการกระทำความผิด ก่อนการออกใบสั่งทุกครั้ง ให้เจ้าพนักงานจราจรใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม และให้สิทธิในการโต้แย้งได้ตามกฎหมาย โดยระมัดระวังมิให้มีการใช้อำนาจเกินกว่าขอบเขตของกฎหมาย และจะต้องไม่กระทบสิทธิ เสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3.ให้ผู้บังคับบัญชาในสายงานจราจร ชี้แจงทำความเข้าใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานให้รับทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติโดยใกล้ชิด
ส่วนคำพิพากษาศาลปกครองกลางคดีหมายเลขแดงที่ 1855/2563 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับ “แบบใบสั่งฉบับที่ 1 ตามคำสั่ง ตร.ลงวันที่ 20กรกฎาคม 2563” “แบบใบสั่งฉบับที่ 2 ตามคำสั่ง ตร. ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2564” และ “บัญชี อัตราค่าปรับในคดีจราจรตามคำสั่ง ตร.ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563” ที่ออกโดยสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ (ตร.) และผูบัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ซึ่งมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดโดย สรุปกล่าวคือ นาง ส. ฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้มีคำสั่งเพิกถอน “แบบใบสั่ง” และ“บัญชีอัตราค่าปรับในคดีจราจร” โดยอ้างว่าแบบใบสั่งและบัญชีค่าปรับออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองมีคำวินิจฉัยซึ่งมีสาระประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
สำหรับ “แบบใบสั่ง” (หรือแบบฟอร์มใบสั่ง) ที่ ตร.กำหนดเป็น“กฎ” ที่ มีลักษณะทำให้ผู้รับใบสั่งเข้าใจได้ว่าตนเป็นผู้มีความผิด และมีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับตามใบสั่งเท้านั้นโดยไม่อาจโติแย้งได้ซึ่งไม่มีข้อความการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิที่จะโต้แย้งหรือการปฏิเสธข้อกล่าวหาในใบสั่งตามที่ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 141/1 วรรคหนึ่ง (2) (ง) วรรคสอง ได้บัญญัติรับรองไว้“แบบใบสั่งฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2” ตามคำสั่ง ตร. จึงเป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วน “บัญชีอัตราค่าปรับ” (หรืออัตราค่าปรับความผิดตามกฎหมายจราจร) ที่ ตร.กำหนดเป็น“กฎ” ที่มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนค่าปรับไว้ล่วงหน้าเป็นอัตราคงที่แน่นอน โดยที่เจ้าพนักงานจราจรไม่อาจใช้ดุลพินิจเปรียบเทียบปรับเป็นจำนวนให้เหมาะสมและเป็นธรรมตามพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีตามเจตนารมณ์ มาตรา 140 วรรคสี่ แห่งพ.ร.บ.
จราจรทางบกฯ “บัญชีอัตราค่าปรับ” จึงเป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอน “แบบใบสั่ง” (ตามเอกสารแนบท้ายบทความ 1) และ “บัญชีอัตราค่าปรับ” (ตามเอกสารแนบท้ายบทความ 2) ที ตร. กำหนด โดยให้มผีลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งหรือประกาศ ตร.ดังกล่าว (วันที่ 20 กรกฎาคม 2563)
ผลของคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
(1) แม้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอน “แบบใบสั่ง” และ “บัญชีอัตราค่าปร้บ” หากแต่คำสั่งศาลปกครองกลางเป็นการใช้อำนาจสั่งให้เพิกถอนกฎ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 มาตรา 72 (1) การบังคับตามคำพิพากษาศาลปกครองกรณีดังกล่าวต้อง รอการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ตาม มาตรา 70 วรรคสอง เว้นแต่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้บังคับตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางตามที่เห็นสมควรระหว่างการพิจารณาหรือระหว่าง
อุทธรณ์
(2) เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและศาลปกครองสูงสุดไม่ได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตาม มาตรา 70 วรรคสอง “แบบใบสั่ง” และ “บัญชีอัตราค่าปรับ” จึงยังไม้ถูก “เพิกถอน” ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง
(3) อย่างไรก็ตาม แม้คำพิพากษาของศาลปกครองกลางจะยังไม่ถึงที่สุดและ “แบบใบสั่ง” และ “บัญชีอัตราค่าปรับ” จึงยังไม่ถูก “เพิกถอน” แต่ศาลปกครองกลางได้โปรดมีคำวินิจฉัยในเบื้องต้นแล้วว่า “แบบใบสั่ง” และ “บัญชีอัตราค่าปรับ” เป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบกับหากคดีไม่มีการอุทธรณ์ หรือหากคดีมีการอุทธรณ์และศาลปกครองสูงสุดมีคำ
พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ย้อมส่งผลให่ “แบบใบสั่ง” และ “บัญชีอัตราค่าปรับ” ถูกเพิกถอนโดยเด็ดขาด
(4) ฉะนั้นในระหวางที่คดียังไม่ถึงที่สุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าพนักงานจราจรและพนักงานสอบสวน จึงไม่พึงนำเอา “แบบใบสั่ง” และ “บัญชีอัตราค่าปรับ” ที่ไม่แน่ชัดว่าถึงที่สุดแล้วจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรืออาจถูกเพิกถอนโดยเด็ดขาดในชั้นที่สุด “มาบังคับใช้กับประชาชน” อีกต่อไปเพราะเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม และสิทธิของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ให้การรับรองและคุ้มครอง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ ศาลปกครองกลางมี
คำพิพากษา (วันที่ 27 กันยายน 2566 เป็นต้นไป)

ล่าสุดมี  พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ลงนามคำสั่งวิทยุในราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 0007.34/3927 ใจความอ้างถึง คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนประกาศ ตร.เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 ลง 20 ก.ค. 63 และประกาศ ตร. เรื่อง การกำหนดจํานวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิด ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 พ.ศ.2563 ลง 20 ก.ค.63 นั้น ขณะนี้ทางตร.อยู่ระหว่างดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ประกอบกับพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 70 วรรค 2 ที่ระบุว่า ในกรณีที่เป็นคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ให้รอการปฏิบัติ ตามคำบังคับไว้จนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุทธรณ์ หรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ให้รอการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด