25 เมษายน 2024

มาแล้ว….!น้ำจากตอนเหนือที่ทำให้ทำให้ประชาชนในพื้นที่ ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา ต้องหนีขึ้นชั้น2ของบ้าน เป็นเวลาเกือบเดือนแล้ว เพราะประเด็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่อ.บางบาล, เสนาและผักให่ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐเท่าที่ควร จนทำให้หาทางช่วยตนเองในระดับหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของพื้นที่ต้องรับผิดชอบไปโดยปริยายอย่าง “นายธเนศ สนธิ”นายกเทศบาลตำบลหัวเวียง ต้องออกมาป่าวประกาศและบนในใจว่า ตอนนี้พี่น้องประชาชนเบื่อหน่ายกับภาระจำยอมที่จะต้องจำทนอยู่ในพื้นที่รับน้ำเป็นประจำเกือบทุกปี รอหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน เพราะพื้นที่นี้ขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง รอความหวังจากรัฐบาลโดยเฉพาะกรมชลประทาน ที่มี นายนายเสริมชัย เซียวศิริถาวร ผู้อํานวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ที่รับผิดชอบโครงการขุดคลองเจ้าพระยา2 โดยตรง ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างถาวร เพราะการทำโครงการขนาดใหญ่นั้น ย่อมมีแนวทางในการแก้ปัญหาระหว่างการก่อสร้างโครงการฯ นั้นใช่ไหม? และเวลานี้ชาวบ้านมีความคาดหวังอย่างสูงกับกรมชลประทาน ที่รัฐบาลยอมลงทุนในโครงการขุดคลองเจ้าพระยา2 ซึ่งมีระยะความยาว22กม. นี้ ด้วยเงิน งบประมาณถึง 21,000 ล้านบาท โดยเริ่มจากอ.บางบาล-อ.บางไทร ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ( 2562-2566)ถ้า โครงการนี้แล้วเสร็จจะสามารถช่วยแบ่งเบาปริมาณน้ำที่พื้นที่แม่น้ำน้อยที่รับจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านคลองโผงเผงทีอ.ป่าโมกไปได้มากน้อยแค่ไหน? แต่ถ้าแบ่งปริมาณน้ำได้ผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากน่าจะบรรเทาลง ลดความสูญเสียความเดือดร้อนและทุกข์ยากของชาวบ้าน เพราะนี่คือความหวังเดียวที่ประชาชนในพื้นที่เฝ้ารอคอยกับโครงการขุดคลองเจ้าพระยา2 ในความสำเร็จของ กรมชลประทาน ครับ

เราย้อนมาดู โครงการใหญ่ที่ได้รับหารอนุมัติ สมัย ท่านสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยงบประมาณ21,000 ล้านบาท ซึ่งนายเสริมชัย เซียวศิริถาวร ผู้อํานวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร หรือ “เจ้าพระยา 2” ว่า การก่อสร้างยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีความก้าวหน้ามากกว่า 20% ของโครงการแล้ว และน่าจะดำเนินการเสร็จได้ตามแผน ปี 2566 โครงการนี้ เป็นคลองระบายน้ำที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อเบี่ยงน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนเจ้าพระยาเลี่ยงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยซํ้าซาก ลดระดับน้ำท่วมในพื้นที่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้เป็นอย่างดี และสำหรับข้อมูลของโครงการ มีดังนี้

  • ตั้งอยู่ตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
  • เป็นคลองระบายน้ำมีความยาวประมาณ 22.50 กิโลเมตร
  • เขตคลองกว้าง 200 เมตร และในเขตชุมชนกว้าง110 เมตร
  • ก่อสร้างถนนบนคันคลองผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ทั้ง 2 ฝั่ง 
  • ก่อสร้างประตูระบายน้ำปลายคลองระบาย จำนวน 1แห่ง 
  • งบประมาณ 21,000 ล้านบาท

โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร

ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการก่อสร้างเสร็จสิ้น มีดังนี้

  • ระบายน้ำได้สูงสุด 2,930 ลบ.ม./วินาที
  • บรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้เฉลี่ย 1.9–2.5 ล้านไร่/ปี 
  • ลดระดับความลึกของน้ำท่วมลงได้
  • เพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำสำหรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านเกษตรกรรมรวม 229,138 ไร่ 
  • มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค 15 ล้าน ลบ.ม. ในเขตพื้นที่โครงการ

โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร

“การก่อสร้างขณะนี้คืบหน้ามากกว่า 20% โดยการก่อสร้างไม่น่าจะมีปัญหา หากก่อสร้างเสร็จ จะช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ ทั้งเรื่องของน้ำท่วม หรือจะสามารถเพิ่มการระบายน้ำได้ถึง 2,930 ลบ.ม.ต่อวินาที ริมฝั่งเจ้าพระยาตอนล่าง จะสามารถระบายน้ำลงทะเลได้เร็วขึ้น ลดผลกระทบน้ำหลากต่อประชาชนน้อยลง”นายเสริมชัย กล่าว

อย่างไรก็ตามโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร เป็นแผนงานในลำดับที่ 7 ของแผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ประกอบด้วยแผนงานทั้งหมด 9 กลุ่มแผนงาน ซึ่งการก่อสร้างแนวคลองระบายน้ำหลากตัดผ่านพื้นที่ชุมชน จะส่งผลให้ที่ดินของประชาชนถูกเขตพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้มีการปรับลดแนวคลองในบริเวณที่ตัดผ่านชุมชนเพื่อให้มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่น้อยที่สุด รวมถึงดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหา

โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร

ส่วนผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ต้นทุนพลังงาน ค่าแรงงาน ค่าเหล็ก หรือวัสดุก่อสร้าง มีการปรับเพิ่มขึ้นนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีผลกระทบมาก เพราะการก่อสร้างโครงการชลประทานเฟสใหม่ที่ยังไม่มีการก่อสร้าง จะไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณ อีกทั้งรัฐบาลยังพยายามตรึงราคาพลังงาน ส่งผลให้ในปี 2565 ต้นทุนการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ